คุณใช้เลนส์แก้วตาตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน โดยปรับสายตาหลายระยะ สำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น ขับรถ อ่านหนังสือ ตีกอล์ฟ ทำสวน และดูหลานๆ วิ่งเล่น
ต้อกระจกจะเริ่มจากขนาดเล็กและก่อตัวช้าๆ คุณอาจไม่สังเกตผลกระทบที่มีต่อการมองเห็นในช่วงแรก จากนั้น เมื่อต้อกระจกขยายใหญ่ขึ้นและทำให้เลนส์แก้วตาขุ่นมัวมากขึ้น ต้อกระจกจะทำให้แสงที่ผ่านเลนส์แก้วตาบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่อาการที่สังเกตได้มากขึ้น
ภาพที่มองเห็นเมื่อไม่มีต้อกระจก
ภาพที่มองเห็นเมื่อมีต้อกระจก
ภาพเป็นภาพประกอบเท่านั้น ผลลัพธ์จริงอาจแตกต่างกันไป
อาการของต้อกระจกที่ต้องสังเกต:
- การมองเห็นที่พร่ามัว สลัว ไม่ชัดเจน หรือขุ่นมัว ราวกับว่าคุณมองผ่านกระจกที่สกปรกหรือเปื้อน และคุณพบว่าตัวเองต้องหรี่ตาหรือกะพริบตาบ่อยขึ้นเพื่อโฟกัสภาพให้ดีขึ้น
- ความไวต่อแสงและแสงจ้า (glare) เช่น จากไฟหน้ารถในตอนกลางคืน
- การมองเห็น “วงแสง” (halo) รอบๆ หลอดไฟ เช่น หลอดไฟ ไฟหน้า และแสงจ้าจากดวงอาทิตย์
- ต้องการแสงสว่างขึ้นสำหรับกิจกรรมในร่ม เช่น การอ่านหนังสือ
- สีซีดจางหรือเหลืองขึ้น ดังนั้น คุณอาจพบปัญหาการแยกแยะระหว่างสีต่างๆ ในบางกลุ่ม เช่น สีน้ำเงินและสีม่วง
- สีสันดูไม่สดใสอย่างเคย หรือเหลืองขึ้น
- เห็นภาพซ้อนในดวงตาข้างหนึ่ง
- มีฟิล์มสีขาวหรือเทากั้นดวงตาขณะที่คุณมองกระจกเงา
- ต้องเปลี่ยนค่าสายตาสำหรับการสั่งตัดแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์บ่อยๆ
จะทำอย่างถ้าเป็นต้อกระจก?
หากคุณเป็นต้อกระจกในระยะเริ่มต้น คุณอาจไม่ต้องแก้ไขในทันที และการสั่งตัดแว่นใหม่อาจช่วยได้ อย่างไรก็ตาม ต้อกระจกทั้งหมดจะต้องกำจัดออกด้วยการผ่าตัดในที่สุด จากนั้นเปลี่ยนเป็นเลนส์สังเคราะห์ที่มีขนาดเล็ก นิ่ม และใส เรียกว่า เลนส์แก้วตาเทียม (IOL) สบายใจได้ว่า นี่คือหนึ่งในการผ่าตัดผู้ป่วยนอกที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด
ฉันควรติดต่อแพทย์เมื่อใด?
หากคุณอายุมากกว่า 40 ปี และพบอาการของต้อใดๆ เหล่านี้ คุณควรนัดตรวจกับจักษุแพทย์เ พื่อตรวจดวงตา
1American Academy of Ophthalmology. Eye health statistics at a glance. Updated April 2011.
http://www.aao.org/newsroom/upload/Eye-Health-Statistics-April-2011.pdf. Accessed June 13, 2013.